การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ
เป็นการนำขวดหรือเศษพลาสติกที่เป็นประเภทเดียวกันและไม่มีสิ่งปนเปื้อน ที่เกิดใน
กระบวนการผลิตหรือขึ้นรูปกลับมาใช้ซ้ำภายในโรงงาน โดยสามารถนำมาใช้ซ้ำทั้ง
หมดหรือเติมผสมกับเม็ดใหม่ที่อัตราส่วนต่างๆ
การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ
การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิหรือกระบวนการหลอมขึ้นรูปใหม่ เป็นการนำพลาสติกที่ผ่านการ
ใช้งานแล้วมาทำความสะอาด บด หลอมและขึ้นรูปกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้ง
การรีไซเคิลแบบทุติยภูมินี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายเทคนิค คือ
การรีไซเคิลเชิงกล
(Mechanical recycling)
เป็นเทคนิคที่ง่ายและนิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน โดยการเก็บพลาสติกที่ผ่านการ
ใช้งานแล้วมาคัดแยกตามประเภท และสีมาล้างทำความสะอาดก่อนนำมาบดเป็น
ชิ้นเล็กๆ และหลอมเป็นเม็ดพลาสติกเกรดสองหรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อนำ
กลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือนำมาผสมกับเม็ดใหม่
เพื่อให้ได้สมบัติที่ต้องการก่อนนำไปผ่านกระบวนการขึ้นรูป โดยคุณภาพของเม็ด
พลาสติกรีไซเคิลนี้จะเป็นตัวกำหนดการนำไปใช้งาน และปริมาณการผสมที่
ต้องการ ปัญหาในกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก คือ หลังจากผ่านกระบวนการ
รีไซเคิลในแต่ละครั้ง พลาสติกจะมีคุณภาพต่ำลงปฏิกิริยาการขาดของสายโซ่
โมเลกุลของ ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด และมีราคาถูกลง
เรื่อยๆ จนบางครั้งไม่คุ้มต่อการลงทุน สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากมีการปนเปื้อน
ของสิ่งสกปรก ฉลากเล็กๆ หรือ เศษกาวทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีสีเข้มขึ้น
หรือ มีความใสลดลง นอกจากนี้ความชื้นในพลาสติก และความร้อนที่ใช้ในการ
หลอมพลาสติกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสลายตัว หรือเกิดการขาดของ
สายโซ่โมเลกุลของโพลิเมอร์ที่ใช้ทำพลาสติก ทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีสี
เหลือง และมีสมบัติเชิงกลลดลงด้วย
การปรับปรุงโดยวิธีทางเคมี
(Chemical modification)
เนื่องจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีข้อจำกัดในด้านสมบัติ การขึ้นรูปและการใช้งาน
ดังนั้น การปรับปรุงโดยวิธีการทางเคมีจะช่วยลดข้อจำกัดดังกล่าว หรือทำให้เม็ด
รีไซเคิลมีลักษณะใกล้เคียงกับเม็ดใหม่ได้ การปรับปรุงนี้สามารถใช้ได้กับทั้ง
พลาสติกชนิดเดียวหรือพลาสติกผสม ถ้าเป็นพลาสติกชนิดเดียวก็จะใช้การเติม
สารเคมีหรือใช้วิธีการผ่านด้วยรังสี แต่ถ้าเป็นพลาสติกผสมมักใช้สารช่วยในการ
ผสมให้เข้ากันที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Compatibilizer
การหลอมอัดรีดร่วมและการฉีดร่วม
(Coextrusion and Coinjection moulding)
เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ผลิตบรรจุ
ภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับอาหาร ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตได้จากกระบวนการนี้จะมี
ลักษณะโครงสร้างเป็นชั้นๆ เหมือนแซนด์วิช โดยที่ผิวหน้าเป็นชั้นที่ผลิตจาก
พลาสติกใหม่ซึ่งมีความต้านทานต่อแรงดึงสูง ป้องกันการขีดข่วนได้ดีและมีสีสัน
น่าใช้ ส่วนชั้นกลางเป็นชั้นของพลาสติกรีไซเคิล
- การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ

การรีไซเคิลแบบตติยภูมิแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
การรีไซเคิลทางเคมี และ ทางความร้อน
การรีไซเคิลทางเคมี (chemical recycling)
เป็นกระบวนการที่ทำให้โครงสร้างสายโซ่ของพอลิเมอร์เกิดการขาดหรือแตกออก
(Depolymerisation) ได้มอนอเมอร์ (Monomer) หรือโอลิโกเมอร์
(Oligomer) เป็นผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาทำให้บริสุทธิ์โดยการกลั่น และตกผลึกได้
เป็นสารตั้งต้นที่มีคุณภาพสูงซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นเพทได้ใหม่
การรีไซเคิลทางความร้อน (Thermolysis)
โครงสร้างของเพทสามารถเกิดการแตกหรือขาดได้โดยใช้ความร้อน เรียกว่า
Thermolysis แบ่งออกได้เป็น 3 วิธี คือ แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Pyrolysis )
แบบใช้ออกซิเจน (Gasification) และ การเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation)
เป็นกระบวนการที่ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์เกิดการแตกออก โดยใช้ความร้อนแบบ
ไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการควบแน่นเป็น ของเหลวที่เรียกว่า น้ำมันดิบ
สังเคราะห์ (Synthetic crude oil) สามารถนำกลับไปใช้ในโรงกลั่น และ
ส่วนที่ไม่เกิดการควบแน่นจะถูกนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้ความร้อนภาย
ในกระบวนการ
Pyrolysis เป็นกระบวนการที่ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์ เกิดการแตกออก
โดยใช้ความร้อนแบบไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการควบแน่นเป็น ของเหลว
ที่เรียกว่า น้ำมันดิบสังเคราะห์ (Synthetic crude oil) สามารถนำกลับไปใช้ในโรง
กลั่น และส่วนที่ไม่เกิดการควบแน่นจะถูกนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้ความ
ร้อนภายในกระบวนการ
Gasification เป็นกระบวนการที่ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์ของเพทเกิดการ
แตกออกโดยใช้ความร้อนแบบใช้ออกซิเจน กระบวนการนี้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงกว่า
Pyrolysis ผลลัพธ์ที่ได้คือ Syngas ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และ
ไฮโดรเจน สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรง แต่ถ้าทำการแยกก่อนนำมาใช้
ในรูปของสารเคมีจะมีมูลค่าสูงขึ้น 2 – 3 เท่า
Hydrogenation เป็นเทคนิคที่ปรับปรุง มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน
แบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา โดยสายโซ่พอลิเมอร์ของเพทจะถูกทำให้แตกหรือขาดออก
จากกันด้วยความร้อน และสัมผัสกับไฮโดรเจนที่มากเกินพอที่ความดันสูงกว่า 100
บรรยากาศ จนเกิดปฏิกิริยาแตกตัว (Cracking) และเกิดการเติมไฮโดรเจน
(Hydrogenation) อย่างสมบูรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงเหลว
เช่น น้ำมันแก็สโซลีนหรือดีเซล
กระบวนการรีไซเคิลทางความร้อนถือได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์
และคุ้มค่ากว่าการรีไซเคิลทางเคมี เพราะสามารถจัดการขยะที่เป็นพลาสติกผสมที่
มีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่ไม่ใช่พลาสติกได้ ในขณะที่การรีไซเคิลทางเคมีต้องใช้
พลาสติกที่มีความสะอาดค่อนข้างสูง และมีการผสมหรือปนเปื้อนได้เพียงเล็กน้อย
ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเตรียมวัตถุดิบสูง อย่างไรก็ตามพลาสติกเพทที่จะนำมา
รีไซเคิลทางความร้อนก็ควรมีการคัดขนาดหรือกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกบ้าง
- การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ

พลาสติกสามารถนำมาเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยการเผาไหม้ของ
พลาสติกให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับถ่านหิน (23 MJ/kg) ช่วยในการเผาไหม้ส่วนที่เป็น
ขยะเปียก ทำให้ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการเผาขยะ