s-sirithaitrading.com

ประเภทและการใช้งาน

..........................................
ของพลาสติก 

  หากแบ่งประเภทของพลาสติกตามสมบัติทางความร้อน 

            เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) 

    โพลิเมอร์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างโมเลกุลของสายโซ่โพลิเมอร์เป็นแบบเส้นตรง  หรือ
    แบบกิ่งสั้น ๆ สามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายบางชนิด เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
    และหลอมเหลวเป็นของเหลวหนืด เนื่องจากโมเลกุลของโพลิเมอร์ที่พันกันอยู่สามารถ
    เคลื่อนที่ผ่านกันไปมาได้ง่ายขึ้นเมื่อได้รับความร้อนและเมื่อเย็นตัวลงก็จะแข็งตัว ซึ่งการ
    หลอมเหลวและเย็นตัวนี้ สามารถเกิดกลับไปกลับมาได้   โดยไม่ทำให้สมบัติทางเคมี
    และทางกายภาพ  หรือโครงสร้างของโพลิเมอร์เปลี่ยนไปมากนัก

    พลาสติกประเภทนี้สามารถขึ้นรูป โดยการฉีดขณะที่พลาสติกถูกทำให้อ่อนตัวและไหล
    ได้ด้วยความร้อนและความดัน      เข้าไปในแม่แบบที่มีช่องว่างเป็นรูปร่างตามต้องการ
    ภายหลังจากที่พลาสติกไหลเข้าจนเต็มแม่พิมพ์จะถูกทำให้เย็นตัว และถอดออกจาก
    แม่พิมพ์  ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างตามต้องการ สามารถนำไปใช้งานได้ เมื่อใช้เสร็จแล้ว
    สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ โดยการบด และหลอม ด้วยความร้อนเพื่อขึ้นรูปเป็นผลิต
    ภัณฑ์ใหม่ได้อีก   แต่พลาสติกประเภทนี้มีข้อเสียและขีดจำกัดของการใช้งาน คือ  ไม่
    สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ เพราะอาจเกิดการบิดเบี้ยว หรือเสียรูปทรงไป ตัวอย่าง
    เช่น ขวดน้ำดื่มไม่เหมาะสำหรับใช้บรรจุน้ำร้อนจัดหรือเดือด


  2. เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting) 

    โพลิเมอร์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างเป็นแบบร่างแห ซึ่งจะหลอมเหลวได้ในขั้นตอนการขึ้น
    รูปครั้งแรกเท่านั้น  ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีปฏิกิกริยาเคมีเกิดขึ้น   ทำให้เกิดพันธะเชื่อมโยง
    ระหว่างโมเลกุล ทำให้โพลิเมอร์มีรูปร่างที่ถาวร  ไม่สามารถหลอมเหลวได้อีกเมื่อได้รับ
    ความร้อน และหากได้รับความร้อนสูงเกินไป  จะทำให้พันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล
    แตกออก  ได้สารที่ไม่มีสมบัติของความเป็นโพลิเมอร์ต่อไป

    การผลิตพลาสติกชนิดเทอร์โมเซตจะแตกต่างจากพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก  คือ
    ในขั้นตอนแรกต้องทำให้เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชันเพียงบางส่วน    มีการเชื่อมโยง
    โมเลกุลเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย และยังสามารถหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงสามารถ
    ขึ้นรูปภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูงได้     เมื่อผลิตภัณฑ์มีรูปร่างตามต้องการแล้วให้
    คงอุณหภูมิไว้ประมาณ 200-300 องศาเซลเซียส  เพื่อให้ได้โครงสร้างแบบร่างแหที่
    เสถียรและแข็งแรง สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกจากแบบโดยไม่ต้องรอให้เย็น  เนื่องจาก
    ผลิตภัณฑ์จะแข็งตัวอยู่ภายในแม่พิมพ์ 
    ดังนั้นการให้ความร้อนในกระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมเซตกลับทำให้วัสดุแข็งขึ้น
    ต่างจากกระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมพลาสติที่การให้ความร้อนจะทำให้พลาสติก
    นิ่ม และหลอมเหลว พลาสติกเทอร์โมเซต   เมื่อใช้งานเสร็จแล้วไม่สามารถนำมาผ่าน
    การหลอม  และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือรีไซเคิล (recycle) ได้อีก     และถ้าให้
    ความร้อนมากเกินไป   จะทำให้พลาสติกเกิดการสลายตัวหรือไหม้     โดยไม่เกิดการ
    หลอมเหลว ตัวอย่าง  ของพลาสติกในกลุ่มนี้เช่น   เบคเคอไลต์ และเมลามีน เป็นต้น


               ตารางแสดง  ความแตกต่างระหว่าง เทอร์โมพลาสติก และ เทอร์โมเซต

เทอร์โมพลาสติก

เทอร์โมเซต

1. เป็นโพลิเมอร์แบบเส้น
หรือแบบกิ่ง

1. เป็นโพลิเมอร์แบบเชื่อมโยง
หรือแบบร่างแห

2. จะอ่อนตัวหรือหลอมเหลว
เมื่อได้รับความร้อน

2. จะแข็งตัวเมื่อได้รับความร้อน

3. ต้องทำให้เย็นก่อนเอาออกจากแม่แบบ มิฉะนั้นจะเสียรูปทรงได้

3. ไม่ต้องรอให้เย็นก่อนเอาออกจากแม่แบบ

4. ไม่เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอร์ไรเซชันในแม่พิมพ์

4.เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอร์ไรเซชัน
ในแม่พิมพ์

5. นำมารีไซเคิลโดยการหลอม
และขึ้นรูปใหม่ได้
5.ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้

พลาสติกที่ใช้มากในปัจจุบัน 

พลาสติกที่ถูกนำมาใช้ในปริมาณมากในปัจจุบันมีอยู่หลายชนิดที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
จึงมีการใส่สัญลักษณ์ตัวเลข เพื่อให้ง่ายต่อการแบ่งประเภทของพลาสติก    ตัวเลขทั้ง 7 ตัวนี้
จะอยู่ในสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมที่มีลูกศรสามตัววิ่งตามกัน   และมักพบบริเวณก้นของภาชนะ
พลาสติก

  1. โพลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลต (Poly (ethylene terephthalate), PET) 
    PET ทนแรงกระแทก ไม่เปราะแตกง่าย   สามารถทำให้ใสมาก มองเห็นสิ่งที่บรรจุอยู่
    ภายใน จึงนิยมใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช และเครื่องสำอาง    นอกจากนี้ขวด PET ยังมี
    สมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี จึงใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำอัดลม 
    PET
    สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ โดยนิยมนำมาผลิตเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกัน
    หนาว พรม   และเส้นใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน หรือเสื้อสำหรับเล่นสกี

         

  2. โพลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูง (High density polyethylene, HDPE) 
    HDPE โพลิเอทธิลีนชนิดหนาแน่นสูงมีโครงสร้างโมเลกุลเป็นสายตรง ค่อนข้างแข็งแต่
    ยืดได้มากไม่แตกง่ายส่วนใหญ่ทำให้มีสีสันสวยงาม ยกเว้นขวดที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม ซึ่งจะ
    ขุ่นกว่าขวด PET ราคาถูกขึ้นรูปได้ง่าย ทนสารเคมี จึงนิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยา
    ทำความสะอาด แชมพู สระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว นอกจากนี้ภาชนะที่ทำจาก HDPE
    ยังมีสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี  จึงใช้เป็นขวดนม  เพื่อยืดอายุของนม
    ให้นานขึ้น 
    HDPE  สามารถนำกลับมารีไซเคิลเพื่อผลิตขวดต่าง ๆ     เช่น ขวดใส่น้ำยา
    ซักผ้า แท่งไม้เทียมเพื่อใช้ทำรั้วหรือม้านั่งในสวน 

         

  3. โพลิไวนิลคลอไรด์ (Poly (vinyl chloride), PVC) PVC  
    เป็นพลาสติกแข็งใช้ทำท่อ เช่น ท่อน้ำประปา แต่สามารถทำให้นิ่มโดยใส่สารพลาสติก
    ไซเซอร์ ใช้ทำสายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้อง
    ยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม PVC เป็นพลาสติกที่มีสมบัติหลากหลาย
    สามารถนำมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อื่นได้อีกมาก เช่น ประตู หน้าต่าง วงกบ และหนังเทียม
    PVC    สามารถนำกลับมารีไซเคิล    เพื่อผลิตท่อประปาสำหรับการเกษตร กรวยจราจร
    และเฟอร์นิเจอร์ หรือม้านั่งพลาสติก

         

  4. โพลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene, LDPE)
    LDPE เป็นพลาสติกที่นิ่ม  สามารถยืดตัวได้มาก มีความใส นิยมนำมาทำเป็นฟิล์ม    
    สำหรับห่ออาหารและห่อของ  ถุงใส่ขนมปัง  และถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร LDPE
    สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ไ  ด้โดยใช้ผลิตเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ  ถุงหูหิ้ว
    หรือถังขยะ 

         

  5. โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) 
    PP    เป็นพลาสติกที่แข็ง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมี ความร้อน  และ
    น้ำมัน  ทำให้มีสีสันสวยงามได้  ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำภาชนะบรรจุอาหาร    เช่น
    กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า    หรือกระบอกสำหรับใส่น้ำแช่เย็น 
    PP     สามารถนำ
    กลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้    โดยนิยมผลิตเป็นกล่องแบตเตอรี่รถยนต์      ชิ้นส่วน
    รถยนต์ เช่น  กันชน และกรวยสำหรับน้ำมัน 

         

  6. โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS) 
    PS เป็นพลาสติกที่แข็ง ใส แต่เปราะ และแตกง่าย ราคาถูก     นิยมนำมาทำเป็น
    ภาชนะบรรจุของใช้    เช่น   เทปเพลง สำลี หรือของแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูหยอง
    และคุ้กกี้  เนื่องจาก PS  เปราะและแตกง่าย        จึงไม่นิยมนำพลาสติกประเภท
    นี้มาบรรจุน้ำดื่มหรือแชมพูสระผม        เนื่องจากอาจลื่นตกแตกได้       
    มีการนำ
    พลาสติกประเภทนี้มาใช้ทำภาชนะหรือถาดโฟม       สำหรับบรรจุอาหารโฟมจะมี
    น้ำหนักที่เบามาก เนื่องจากประกอบด้วย PS ประมาณ 2-5 %   เท่านั้น     ส่วน
    ที่เหลือเป็นอากาศที่แทรกอยู่ในช่องว่าง 
    PS          สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  
    โดยนิยมผลิตเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวีดีโอ ไม้บรรทัด หรือ ของใช้อื่นๆ 

         

  7. พลาสติกอื่นๆ  ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก   หรือไม่ทราบว่าเป็นพลาสติกชนิด
    ใด  
    ปัจจุบันเรามีพลาสติกหลายชนิดให้เลือกใช้       พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือน
    ส่วนใหญ่สามารถนำกลับมารีไซเคิล     เพื่อหลอมใช้ใหม่ได้   การมีสัญลักษณ์
    ตัวเลข ทำให้เราสามารถแยกพลาสติกออกเป็นชนิดต่าง ๆ        เพื่อนำกลับมา
    รีไซเคิลใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น  สำหรับพลาสติกในกลุ่มที่  7 เป็นพลาสติกชนิดอื่นที่
    ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก นอกจะมีตัวเลขระบุแล้ว       ควรใส่สัญลักษณ์ภาษาอังกฤษ
    ระบุชนิดของพลาสติกนั้นๆ ไว้ เพื่อสะดวกในการแยก     และนำกลับมารีไซเคิล
    เช่น โพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate, PC)