s-sirithaitrading.com


  
  
  
  

ความรู้ทั่วไป

 
ของพลาสติก

พลาสติกเป็นสิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน
อาทิ ภาชนะบรรจุอาหาร    บรรจุภัณฑ์
เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ       แต่รู้หรือ
ไม่ว่า     เราใช้พลาสติกคนละชนิดกัน
ในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ     ขึ้นอยู่กับ
การใช้งานของสินค้าเอาไปใช้ทำอะไร
พลาสติก  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

เทอร์โมพลาสติก (thermoplastic) 
มีสมบัติพิเศษคือเมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้น
รูปกลับมาใช้ใหม่ได้ พลาสติกในตระกูลเทอร์โมพลาสติก อาทิ

  1. โพลิเอทิลีน
    (polyethylene: PE)
     
    ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย อากาศผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะขุ่น    และทนความร้อนได้
    พอควร ใช้ทำท่อน้ำ ถัง ถุง ขวด ภาชนะ ฟิล์มถ่ายภาพ ของเล่นเด็ก ดอกไม้พลาสติก
     
  2. โพลิโพรพิลีน
    (polypropylene: PP) 
    ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย ขีดด้วยเล็บไม่เป็นรอย  ทนต่อสารไขมัน    และความร้อนสูง
    ไม่แตกใช้ทำโต๊ะ เก้าอี้ เชือก พรม
     
  3. โพลิสไตรีน
    (polystyrene: PS)
    โปร่งใส เปราะ ทนต่อกรด และด่าง   ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
    เลนส์
     
  4. สไตรลีน อะครีโลไนไทรล์
    (styrene-acrylonitrile: SAN) 
    ใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์
     
  5. อะครีโลไนไทรล์ บิวทาดิอีน สไตรีน
    (acrylonitrile-butadiene-styrene: ABS)
    คล้ายโพลิสไตรีน  แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด
     
  6. โพลิไวนิลคลอไรด์
    (polyvinylchloride: PVC)
    ป้องกันไขมันได้ดี  มีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมัน   และไขมันปรุงอาหาร  ฉนวน
    หุ้มสายไฟ เป็นต้น
     
  7. ไนลอน
    (nylon)
     
    เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ถุงน่องสตรี พรม อวน แห
     
  8. โพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต
    (polyethylene terephthalate)
    เหนียวมาก โปร่งใส ใช้ทำแผ่นฟิล์มบางๆ บรรจุอาหาร
     
  9. โพลิคาร์บอเนต
    (polycarbonate: PC)
     
    มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึด     และแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรด
    แต่ไม่ทนด่างรอย     หรือคราบอาหารจับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนม ขวดบรรจุ
    อาหารเด็ก


เทอร์โมเซตติงพลาสติก (thermosetting plastic)
พลาสติกชนิดนี้เมื่อหลอมตัวเป็นรูปแบบใดจะเป็นรูปแบบนั้นอย่างถาวร จะเอามา
หลอมใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ได้ คือ หลังจากพลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว  จะ
ไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน       หากแต่จะสลายตัวทันที   ที่
อุณหภูมิสูงถึงระดับเทอร์โมเซตติงพลาสติก อาทิ

  1. เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์
    (melamine formaldehyde)
    ทนความร้อน กันรอยขีดข่วน   ใช้ในการผลิตเครื่องครัว    ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิคส์
    เครื่องเรือนไม้อัดเคลือบและติดชั้นของไม้ให้กลายเป็นไม้อัด
     
  2. ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์
    (phenol-formaldehyde)
    ทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก แต่อาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำ  หรือ
    แอลกอฮอล์ใช้ทำฝาจุกขวดและหม้อ
     
  3. อีพ็อกซี
    (epoxy)
    ใช้ทำกาว สี สารเคลือบผิวหน้า
     
  4. โพลิเอสเตอร์
    (polyester) 
    ใช้ผลิตภัณฑ์แบบตัวถังรถยนต์ เครื่องกีฬา อุปกรณ์ในเครื่องบิน
     
  5. ยูรีเทน
    (urethane)
    มีเนื้อฟิล์มแข็ง ทนแรงขูดขีด ทนร้อน ทนกระแทก ได้ดี    ส่วนมากจะใช้ในการทาพื้น
    หรือเคลือบเฟอร์นิเจอร์
     
  6. โพลิยูรีเทน
    (polyurethane)
    ใช้อย่างกว้างขวางในหลายรูปแบบ โฟมอ่อนใช้ในการทำเบาะ ฟูก และหีบห่อ ส่วนโฟม
    แข็งใช้เป็นฉนวนในตู้เย็น เครื่องแช่แข็ง

อ้างอิงจาก: http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=28593