![]() |
![]() | ทำบุญอย่างไร ได้บุญสูงสุด การทำบุญให้ได้บุญสูงสุดควรพิจารณา องค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. ผู้ให้ทานหรือทำบุญ 2. สิ่งของที่ทำบุญ 3. ผู้รับของทำบุญ การทำบุญให้ทานนั้น เปรียบเสมือนการทำ นาปลูกข้าว โดยที่ผู้รับเป็นเหมือนนาข้าว ของ ที่ให้เหมือนเมล็ดพันธุ์ข้าวกิเลสของผู้รับ และ |
ผู้ให้เหมือนเป็นวัชชพืชในนาข้าวนั้น ความตั้งใจของผู้ให้เหมือนความตั้งใจในการหว่านเมล็ดพันธุ์ ข้าวให้ตกลงในนา ไม่ให้กระจัดกระจายออกนอกนาศรัทธาของผู้ให้เปรียบเหมือนปุ๋ย ปิติที่เกิดขึ้น กับผู้ให้เปรียบเหมือนน้ำ ผลบุญที่ผู้ให้ได้รับเปรียบเสมือนผลผลิตจากการทำนานั้น ผู้รับจึงได้ชื่อ ว่าเป็นเนื้อนาบุญ การทำนาปลูกข้าวนั้น ถ้าใช้ข้าวพันธุ์ดี ปลูกในนาข้าวที่มีดินดี ในขณะหว่านก็ตั้งใจหว่านให้ข้าว ตกลงในท้องนาอย่างพอดี ไม่กระจัดกระจายสูญหายไปนอกนา มีน้ำบริบูรณ์ มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีวัชชพืชมาคอยแย่งอาหารต้นข้าว ผลผลิตที่ได้ย่อมมากมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วยฉันใด การทำบุญด้วย วัตถุอันเลิศ ให้กับบุคคลอันเลิศ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทำไปด้วย ความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคง ประกอบด้วยศรัทธาอันดี ถึงพร้อมด้วยปิติเบิกบานใจ ผลบุญที่ได้ย่อม ไพบูลย์ฉันนั้น คุณสมบัติของผู้ให้ทานที่จะได้บุญมาก การที่ผู้ให้ทานจะได้รับผลบุญมากนั้น ตัวผู้ให้เองต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ - ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ (มีความเคารพด้วยใจที่แท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงร่างกาย) - ให้ทานนั้นด้วยมือตนเอง (ถ้า ยิ่งต้องใช้ความพยายามมากเท่าไร จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น การทำบุญด้วยความ รู้สึกที่หนักแน่นมากเท่าไร ก็จะส่งผลให้ได้บุญที่หนักแน่นมากเท่านั้น) - เชื่อในกรรมและผลของกรรม (ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่หนักแน่นเช่นกัน ไม่ใช่ว่าสักแต่ให้ๆ ไปเท่านั้น) - มีความเลื่อมใส ศรัทธาในผู้รับทานนั้น (เหตุผลเช่นเดียวกับข้อก่อน) - เมื่อให้แล้วเกิดปิติโสมนัส จิตใจผ่องใส เบิกบาน - ให้ทานเหมาะสมกับกาลเวลา คือให้ในสิ่งที่ผู้รับต้องการในเวลานั้นๆ - ให้ทานโดยสละวัตถุทานนั้นอย่างแท้จริง ไม่มีใจยึดเหนี่ยว ห่วงใยวัตถุนั้นอีก ไม่ว่าผู้รับจะเอา สิ่งนั้นๆ ไปใช้ทำอะไรหรือเมื่อไหร่ - เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน คือให้โดยหวังประโยชน์แก่ผู้รับจริงๆ ไม่ใช่หวังประโยชน์แก่ตัว ผู้ให้เอง - รู้สึกยินดีในการให้ทานครั้งนั้นทั้ง 3 กาล คือทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้ทานนั้นแล้ว ก็รู้สึกยินดี คือ นึกถึงเมื่อใดก็ยินดีเมื่อนั้น ไม่ใช่ให้แล้วเสียใจในภายหลัง - ให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ไม่หวังแม้แต่บุญที่จะได้รับ คือ ให้เพื่อให้จริงๆ แล้วผล บุญก็จะตามมาเอง ลักษณะของวัตถุสิ่งของที่ใช้ให้ทานแล้วได้บุญมาก วัตถุทานที่ใช้ทำบุญให้ทาน แล้วจะส่งผลให้ผู้ให้ทานนั้นได้รับอานิสงส์ผลบุญมาก มีลักษณะ ดังนี้คือ - ให้ของที่ไม่ใช่ของเหลือเดน คือไม่ใช่เป็นของที่แม้ผู้ให้เองก็ไม่ต้องการแล้ว - ให้ของที่สะอาด จัดเตรียมอย่างประณีต - ให้ของที่ได้มาโดยชอบธรรม และผู้ให้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของของนั้นจริงๆ - ให้โดยไม่มีส่วนเหลือ คือให้ของนั้นทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น ไม่ใช่ให้อย่างขยักขย่อน - ถ้าของที่ให้นั้นมีความสำคัญ มีความหมาย มีคุณค่าสำหรับตัวผู้ให้เองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้บุญ มากขึ้นเท่านั้น เพราะผู้ให้ต้องเสียสละมาก เช่น คนยากจนให้ทาน 10 บาท อาจได้บุญ มากกว่าเศรษฐีให้ทาน 1,000 บาทก็ได้ เพราะเงิน 10 บาท นั้นมีค่ามากสำหรับคนยากจน ในขณะที่เงิน 1,000 บาทเป็นเพียงแค่เศษเงินของเศรษฐี - การให้อวัยวะของตนเป็นทาน ได้บุญมากกว่าการให้ทรัพย์ภายนอกเป็นทาน - การให้ชีวิตของตนเป็นทาน ได้บุญมากกว่าการให้อวัยวะเป็นทาน คุณสมบัติของผู้รับที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมาก ผู้รับทาน หรือเนื้อนาบุญที่ดี อันจะส่งผลให้ผู้ที่ทำบุญด้วยได้บุญมากนั้น มีคุณสมบัติดังนี้ - เป็นผู้ที่มีศีลมาก และถือศีลนั้นได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เป็นคนทุศีล หรือต่อหน้าเป็นอย่าง หนึ่ง แต่พอลับหลังกลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง - เป็นผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิ สงบ ผ่องใส ไม่ถูกนิวรณ์ทั้ง 5 ครอบงำ (ดูเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ) - เป็นผู้ที่ปราศจากกิเลส หรือมีกิเลสเบาบาง หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติเพื่อให้หมดกิเลส ซึ่งจะทำให้ผู้ให้ได้บุญลดหลั่นกันไปตามขั้น - การทำบุญกับสงฆ์ (สังฆทาน - การทำบุญโดยไม่เจาะจงผู้รับว่าต้องเป็นภิกษุรูปนั้นรูปนี้) จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมากกว่าปุคคลิกทาน (การให้โดยเจาะจงผู้รับ) ทั้งนี้ต้องเป็นสังฆทาน ด้วยใจที่แท้จริง - ลำดับขั้นของผู้รับ ที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมากหรือน้อยที่ขึ้นกับเนื้อนาบุญหรือผู้รับนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนครับว่ามีลำดับขั้นดังนี้ 1. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรม แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 2. ทำทานแก่มนุษย์ไม่มีศีลธรรม แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าว แก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 3. ทำทานแก่ผู้ที่ไม่มีศีล แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มี ศีล 5 แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 4. ทำทานแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 10 คือ สามเณรแม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 5. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล 10 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวายทาน ดังกล่าว แก่พระสมมติสงฆ์ ซึ่งมีปาติโมกข์สังวร 227 ข้อ (สมมติสงฆ์หมายถึง พระสงฆ์ที่ยังไม่บรรลุธรรม และถือศีล 227 ข้อ) 6. ถวายทานแก่พระสมมติสงฆ์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าว แก่พระโสดาบัน แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 7. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่ พระสกิทาคามี แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 8. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าว แก่พระอนาคามี แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 9. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่ พระอรหันต์ แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 10. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่ พระปัจเจกพระพุทธเจ้า แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 11. ถวายทานแก่พระปัจเจกพระพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าถวาย ทานดังกล่าว แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 12. ถวายทานแก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อย กว่าถวายสังฆทานที่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวาย สังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม 13. ถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญ น้อยกว่าถวายวิหารทาน แม้จะกระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (วิหารทาน ได้แก่ การสร้าง หรือร่วมสร้างโลสภ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคน เดินทางอันเป็นสาธารณประโยชน์ รวมถึงโรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ สุสาน เมรุเผาศพ) 14. ถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง (100 หลัง) ก็ได้บุญน้อยกว่าการให้ ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม(ธรรมทาน ได้แก่ การเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่น ชักจูง ผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม การพิมพ์แจกหนังสือธรรมะ) 15. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ ‘อภัยทาน’ แม้จะให้ แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่ พยาบาทคิดร้าย) อย่างไรก็ตาม การให้อภัยทาน แม้จะมากกว่าการให้ทานอื่น ๆ ก็ตาม แต่ผลของบุญก็ยังต่ำกว่า การรักษาศีลการรักษาศีลมากเท่าใดก็ตามผลบุญที่รับยังต่ำกว่าการเจริญภาวนา ดังนั้นท่าน ปัญญาชนทั้งหลายจึงควรพิจารณาอย่างชาญฉลาดว่าจะทำบุญอย่างไร จึงจะได้รับผลมากน้อย ตามลำดับขั้นที่กล่าวมา แม้ไม่ค่อยมีเงินทองก็สามารถที่จะทำบุญได้บุญมากเช่นเดียวกัน จึงไม่ ต้องน้อยใจว่าเรามีกำลังทรัพย์น้อยแล้วจะไปทำบุญสู้เศรษฐีได้อย่างไร นอกจากนี้ยังมีเกร็ดมา ฝากสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีทรัพย์หรือทรัพย์น้อย หรือมีแต่ไม่สะดวกไม่มีเวลาที่จะทำบุญ หรือแม้ แต่รักษาศึล หรือเจริญภาวนา ก็ตาม ก็สามารถทำได้ ต้องทำความเข้าใจว่าในอดีตชาติที่ล่วงมา แล้วไม่ว่าจะกี่พันปีก็ตาม มีผู้บำเพ็ญ ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มากมายนับไม่ถ้วน ตั้งแต่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้จนได้พระธรรมคำสั่งสอน ได้อบรมสั่งสอนพระสงฆ์สาวก อุบาสก อุบาสิกา อบรมสั่งสอนสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันมากมายจนนับไม่ถ้วน ทุกวันนี้ยังมีพระ อริยสงฆ์ พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ตื่นนอนตั้งแต่ตี 3 ตี 4 มานั่งปฏิบัติธรรม มากมาย ตลอดจน การทำบุญใส่บาตร ทำสังฆทาน ทำทาน อีกนับไม่ถ้วนทุกวัน เราจึงควรอนุโมทนาบุญ ดังนี้ ข้าพเจ้า ขออนุโมทนามหากุศลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรทุกภพ ทุก ชาติ จนได้ตรัสรู้คือพระธรรมคำสั่งสอน แม้พระองค์ได้ทรงปรินิพพานแล้ว พระสงฆ์สาวกได้นำพระ ธรรมคำสั่งสอนสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าขออนุโมทนาพระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ที่บำเพ็ญ ทาน รักษาศิล เจริญภาวนา ตั้งแต่ในอดีตชาติทุกภพทุกชาติเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบันขณะบัดเดี๋ยวนี้ ขอกุศลผลบุญจากการอนุโมทนาบุญ ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้บรรพบุรุษของข้าฯ บิดามารดา ครูอาจารย์ บุตรภรรยา ญาติพี่น้อง เพื่อนพ้องบริวารเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร ทุกภพทุกชาติ ขอจงได้รับส่วนกุศลนี้ และให้ได้หลุดพ้นเสียจากบาปเวรโทษทุกข์ทั้งหลายทั้งสิ้นเทอญ และขอให้บุญของข้าพเจ้าที่ทำ สะสมมาทุกภพทุกชาติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันขณะเดี๋ยวนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้รับความสำเร็จประสบแต่ ความสุข ความเจริญ ตราบจนเข้าสู่พระนิพพานเทอญ ขอให้ทำไปเรื่อยๆทุกวันหรือทุกโอกาสที่มีเวลาว่างไม่ว่าตอนตื่นนอน หรือรอรถ ระหว่างเดินทาง พักกลางวัน ก่อนนอนหรือเวลานอนไม่หลับ หรือตามเวลาที่เหมาะสม แล้วค่อยๆ สังเกตว่าตนเอง ได้รับผลไปในทางที่ดีเรื่อยๆ ท่านจะได้ประสบกับตนเองจะเข้าใจมากกว่าคำบอกเล่าของคนอื่น ยากดีมีจนมีสิทธิเท่าเทียมกัน อยู่ที่ว่าใครจะทำ หรือไม่ทำเท่านั้น ขอความสุขสวัสดีจงมีแต่ท่านที่ สละเวลาอ่านมาจนจบเทอญ สาธุ สาธุ ![]() ขอบคุณ http://www.oknation.net/blog/doyourbest/2009 |
![]()
| ![]() | |||
|